3.7 Law related to Interest Rate and Interest Calculation ( 1)
-Loan Shark ผู้ให้กู้ยืม--
วันหนึ่ง ป้าบุญมาก จำเป็นต้องไปยืมเงิน บังโซะ 20000 บาท เพราะบ้านเกิดน้ำท่วม
ได้เงินชดใช้จากรัฐเพียง 5000 บาท ลำพัง ข้าวของ เครื่องใช้ ทีวี ตู้เย็น บ้านเรื่อนเสียหายไป อย่างน้อยๆ ก็หลายหมื่นบาท แล้ว บังโชะก็บอก OK ช่วยเหลือกัน คิดดอกถูกๆ ร้อยละ เพียง 3% ต่อเดือน ดอกทบต้น เพราะคิดถูกๆ อยู่แล้ว ผ่อนเดือนละ 1000 บาท
ประเด็น 1. เมื่อไร ป้าบุญมาก จะผ่อนหมดทั้งต้นและดอก ?
2. อัตราดอกเบี้ย ถูกหรือแพง และถูก ต้องตามกฎหมายหรือไม่ ?
3.วิธีคำนวน ดอกทบต้น ทำได้ตามกฎหมายหรือไม่ ?
คำตอบ
1. ราว 31 งวด ( คิดเป็นเงินที่ ชำระรวมประมาณ 37000 บาท )
2. ถ้าคิดตามมาตรฐาน ผู้ให้กู้ ก็จะว่า ถูก ( เพราะความเสี่ยง เยอะแยะ หลักประกันก็ไม่มี )
คามกฎหมายเรื่องการคิดดอกเบี้ยกู้ยืม ที่ อนุญาติให้คิดได้ไม่เกิน 15 % ต่อปี ก็จะบอกว่า ไม่ถุก ( คือแพง ) เพราะคำนวณ ง่ายๆออกมา เท่ากับปีละ 3x 12=36% ต่อปี (ปพพ. มาตรา ๖๕๔ )
ดังนั้น จึงไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ผลทางกฎหมาย ระบุไว้ 2 แห่ง
- ถ้า ในสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่านั้น ( เกินกว่า 15 % ) ก็ให้ลดลงมาเป็นร้อยละสิบห้า ต่อปี ( ปพพ ม 654 )
-แต่ใน พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 Thai Usury Law ระบุให้เป็นความผิดทางอาญา !!! ความผิดฐานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ( ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ) ส่วนดอกเบี้ย ตกเป็นโมฆะทั้งสิ้น แต่ เงินต้น ยังต้องจ่ายคืน ( ฎีกา 1913/2537 ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2535 ดอกเบี้ยที่เกินอัตราตกเป็นโมฆะทั้งสิ้น แต่เงินต้นลูกหนี้ต้องมีหน้าที่ต้องชำระให้กับเจ้าหนี้ ) เว้นแต่ แยก เงินต้น ดอกเบี้ยไม่ออก เรียกไม่ได้ทั้งหมดเลย ทั้งเงินต้น ทั้งดอกเบี้ย
( ฎีกา 2147/2535ยกเว้นว่าไม่สามารถแยกดอกเบี้ยที่เป็นโมฆะออกจากต้นเงินได้ ถ้าแยกไม่ได้ศาลยกฟ้อง )
ส่วนที่ ปพพ ม 654( ซึ่งออกมา ตั้งแต่ ปี 2468-2471 ) บอกว่า ถ้า ในสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่านั้น ( เกินกว่า 15 % ) ก็ให้ลดลงมาเป็นร้อยละสิบห้า ต่อปี ถูก พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 ที่ออกมาภายหลัง ( ถึงจะเก่า พอๆกัน ) ยกเลิกโดยปริยาย และ บังคับใช้แทน ( คือ เป็นความผิดอาญา ติดตรางได้ ดอกเบี้ยทั้งหมด( ที่ทำผิด )ยกเลิกหมด อดได้
ในสหรัฐอเมริกา หลักการ Usury Law คล้ายคลึงกัน แต่ละรัฐ ( State ) ต่างกำหนด ดอกเบี้ยขั้นสูงที่จะพึงเรียกได้ บางรัฐ ( เช่น นิวยอร์ค ) กำหนดให้ โมฆะหมด ทั้งเงินกู้ Void (ทั้ง ต้นเงินและดอกเบี้ย) รัฐบาลกลาง ( Federal ) เอง ได้กำหนด เป็นความผิดอาญา ( Federal Crime ) ในกรณี เรียกดอกเบี้ย มากกว่า 2 เท่า ของ อัตราดอกเบี้ยสูงสุด Usury Rate ของรัฐ ( นั้นๆ ) - Unlawful Debt
ศาลไทย ในอนาคต อาจตีความโมฆะ ของเงินกู้ เป็น โมฆะ ทั้งหมด ตามแนวต่างประเทศ ( ที่การคุ้มครองป้องกัน ผู้บริโภค ที่เป็น ประชาชน ทั่วไป – ตาสาตาสี ก็ได้
3.วิธีคำนวน ดอกทบต้น ทำได้ตามกฎหมายหรือไม่ ? คำตอบคือ ทำไม่ได้
กฎหมายไทย มีหลักการทั่วไป ห้ามมิให้ คำนวณคิดดอกเบี้ย แบบ ทบต้น
ปพพ ม 655
" ท่านห้ามมิให้ คิดดอกเบี้ย ในดอกเบี้ย ที่ค้างชำระ แต่ทว่า เมื่อ ดอกเบี้ยค้างชำระ ไม่น้อยกว่า หนึ่งปี คู่สัญญากู้ยืม จะตกลงกัน ให้เอา ดอกเบี้ยนั้น ทบเข้ากับ ต้นเงิน แล้วให้คิด ดอกเบี้ย ในจำนวนเงิน ที่ทบเข้ากันนั้น ก็ได้ แต่ การตกลงเช่นนั้น ต้องทำเป็นหนังสือ
ส่วนประเพณีการค้าขาย ที่คำนวณ ดอกทบต้น ในบัญชีเดินสะพัด ก็ดี ในการค้าขายอย่างอื่น ทำนองเช่นว่านี้ ก็ดี หาอยู่ในบังคับ แห่งบทบัญญัติ ซึ่ง กล่าวมา ในวรรคก่อนนั้นไม่"
ส่วนประเพณีการค้าขาย ที่คำนวณ ดอกทบต้น ในบัญชีเดินสะพัด ก็ดี ในการค้าขายอย่างอื่น ทำนองเช่นว่านี้ ก็ดี หาอยู่ในบังคับ แห่งบทบัญญัติ ซึ่ง กล่าวมา ในวรรคก่อนนั้นไม่"
เช่น กู้เงิน โดยทั่วไป กับนายทุนผู้ให้กู้ หรือ แม้แต่ กู้กับ สถาบันการเงิน ธนาคาร( โดยทั่วๆไป ) หรือ การ ผ่อนเช่าซื้อ และมีดอกเบี้ย จะไปกำหนดในสัญญา คิดดอกเบี้ยแบบ ทบต้น ไม่ได้
แต่ มีข้อยกเว้น 2 กรณี
1.กรณีที่ มีดอกเบี้ยค้างชำระ ( เกิดขึ้นแล้ว ) ไม่น้อยกว่า 1 ปี คู่สัญญา( จึง ) ตกลงกัน เป็นหนังสือ ให้ ทบดอกเบี้ยนั้น กับ ต้นเงินและคำนวณ ดอกเบี้ย บน ต้นเงินใหม่ ( ที่ทบดอกเบี้ยแล้ว ) นั้นได้
2.ในประเพณีการค้า ที่ คำนวนดอกเบี้ย ทบต้น ในบัญชีเดินสะพัด ( ปพพ มาตรา 856 ถึง มาตรา 860 ) ที่ชัดเจนก็คือ การมีบัญชีกระแสรายวันกับ ธนาคาร ( และมีสัญญา กู้เบิกเงินเกินบัญชี Overdraft – OD ) ถือว่า เข้าข่าย คิดดอกเบี้ยทบต้นได้
3.ในการค้าขายอย่างอื่น ทำนองเช่นว่านี้ ก็ดี กฎหมายกำหนดไว้ให้ แต่ เข้าใจว่า ยังไม่มี กรณีไหนที่ ถูกยกขึ้นมา ว่า เป็น การค้าอื่นที่มี การคำนวณ ดอกเบี้ยทบต้นได้ในศาลไทย ในต่างประเทศ มี ความเห็นว่า การค้าการลงทุนปัจจุบัน การคำนวณ ดอกเบี้ยทบต้นเริ่มเป็นสิ่งปรกติ ธรรมดา ดังนั้น ถ้า มีข้อเท็จจริง เช่น เงินที่ผิดนัด ไม่ชำระดอกเบี้ย ต้องไปกู้มาอีกที
ในต่างประเทศ
หลักการเดิมๆ
คงเหมือนกัน อนุญาติแต่การคิดดอกเบี้ยธรรมดา simple
interest ปัจจุบัน แนวโน้มเริ่ม
มี ความเห็นว่า การค้าการลงทุนปัจจุบัน การคำนวณ ดอกเบี้ยทบต้นเริ่มเป็นสิ่งปรกติ ธรรมดาcommercial
reality ความเห็นแนวทางในคำพิพากษาใหม่ๆ
เช่น
" basic economics dictates that simple interest does not reflect the
loss of the use of money over time."
"The Lords made it clear that their judgment
was a recognition of the commercial
reality that money is lent and
borrowed on terms requiring the payment of compound interest such as in
relation to commercial borrowing, an overdraft, credit cards, a mortgage or
when depositing savings with a bank"
สรุป น้ำท่วม ใหญ่คราวนี้ 2554 ทำให้ ป้าบุญมาก ( เงินน้อย ) ลำบากมากขึ้น แต่ อาจทำให้ บังโซ้ะเพื่อนบ้าน ลำบากกว่า โดย ให้กู้เงินแล้ว ไม่ได้ดอกเบี้ย แถมอาจติด ตราง ได้ !!!
Comments
Post a Comment