Posts

Showing posts from December, 2011

3.8 Law related to Interest Rate and Interest Calculation ( 2 )

Image
ป้าบุญมาก ที่น้ำท่วม คนเดิม แต่ พอรู้จัก ผู้จัดการ ธนาคาร ออมทรัพย์ หน้าบ้าน เลยไปขอกู้เงิน 50000 บาท ( หลานบอกว่า บังโซ้ะ คิดดอกแพง ) ผู้จัดการ ให้กู้ด้วยความเห็นใจ สงสาร มีหลานค้ำประกันให้ ผ่อนชำระ เดือนละ 2000 บาท ดอกเบี้ย คิด เดือนละ 1 % แต่ถ้า ไมจ่าย ผิดนัด เมื่อไร ก็จะเพิ่มดอกเบี้ยเป็น เดือนละ 2 % ( ธนาคาร มีประกาศเรื่องดอกเบี้ยไว้ชัดเจน อยู่ข้างฝา ดอกเบี้ย เงินกู้ รายย่อยทั่วไป 9 % ต่อปี ดอกเบี้ยผิดนัด 19 % ) คำถาม 1.ป้าบุญมาก จะต้องใช้เวลา ผ่อนชำระอยู่นานเท่าไร ? 2.ธนาคาร คิดดอกเบี้ย เดือนละ 1 % ได้หรือไม่ ? 3.ธนาคาร คิดดอกเบี้ย หลังจากผิดนัดเป็น 2% ต่อเดือน ได้หรือไม่ ? คำตอบ 1.คำนวณโดยใช้ Mortgage Cuculator ใช้เวลา 29 เดือน ดอกเบี้ยทั้งหมด 7824 บาท รวมจ่าย 57824บาท ( ดีกว่า ของ บังโซ้ะมากเลย ) 2.ธนาคาร โดยปรกติ คิดดอกเบี้ย 1 % ต่อเดือน 12 % ต่อปี ได้ ไม่เกิน 15 % ตาม ปพพ ม 654 และไม่เกิน อัตราสูงสุด ที่ พระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ.2523 อน...

3.7 Law related to Interest Rate and Interest Calculation ( 1)

Image
-Loan Shark ผู้ให้กู้ยืม-- วันหนึ่ง ป้าบุญมาก จำเป็นต้องไปยืมเงิน บังโซะ 20000 บาท เพราะบ้านเกิดน้ำท่วม ได้เงินชดใช้จากรัฐเพียง 5000 บาท ลำพัง ข้าวของ เครื่องใช้ ทีวี ตู้เย็น บ้านเรื่อนเสียหายไป อย่างน้อยๆ ก็หลายหมื่นบาท แล้ว บังโชะก็บอก OK ช่วยเหลือกัน คิดดอกถูกๆ ร้อยละ เพียง 3 % ต่อเดือน ดอกทบต้น เพราะคิดถูกๆ อยู่แล้ว ผ่อนเดือนละ 1000 บาท ประเด็น 1. เมื่อไร ป้าบุญมาก จะผ่อนหมดทั้งต้นและดอก ? 2. อัตราดอกเบี้ย ถูกหรือแพง และถูก ต้องตามกฎหมายหรือไม่ ? 3.วิธีคำนวน ดอกทบต้น ทำได้ตามกฎหมายหรือไม่ ? คำตอบ 1. ราว 31 งวด ( คิดเป็นเงินที่ ชำระรวมประมาณ 37000 บาท ) 2. ถ้าคิดตามมาตรฐาน ผู้ให้กู้ ก็จะว่า ถูก ( เพราะความเสี่ยง เยอะแยะ หลักประกันก็ไม่มี ) คามกฎหมายเรื่องการคิดดอกเบี้ยกู้ยืม ที่ อนุญาติให้คิดได้ไม่เกิน 15 % ต่อปี ก็จะบอกว่า ไม่ถุก ( คือแพง ) เพราะคำนวณ ง่ายๆออกมา เท่ากับปีละ 3 x 12=36% ต่อปี ( ปพพ. มาตรา ๖๕๔ ) ดังนั้น จึงไม่ถูกต้องตามก...

3.6 Present Value – Annuity

Image
คุณเกิดไปถูกสลาก รัฐบาลงวด ฉลองกรุง รางวัลมหาโชค 20 ล้านบาท คุณจะเอา อย่างไร ? หรือ ไม่เอาทีเดียวหมด เขาจะจ่ายให้เป็นงวดๆ - annuity ปีละ 2 ล้าน 12 ปี ได้ เงินรวม 24 ล้านบาท แปลว่า ? แปลว่า ข้อเสนอ ของสนง. สลาก PV 20 ล้าน = FV ปีละ 2 ล้าน ในเวลา 12 ปี ถ้าคุณ ใช้วิธีคำนวณหา PV ของเงินงวด ของ สนง สลาก สำหรับตัวคุณ (ใน โอกาสที่คุณจะพึงมี ) ก็ขึ้นอยู่ กับ อัตราดอกเบี้ย ที่คุณมีโอกาส ไปหาผลตอบแทน ( opportunity cost ) ของคุณ i ซึ่งในที่นี้เรียกกันว่า discount rate เพื่อทอนลด ค่เงินที่ได้รับในอนาคตเช่น คุณมีโอกาส ลงทุน ซื้อ หุ้นกู้ รัฐวิสาหกิจ 12 ปี ดอกเบี้ย 7 % ใช้วิธี คณิตศาสตร์ คำนวณ สูตรก็จะเป็น ( A คือเงินงวด แต่ละงวด ) หรือ ใช้ ตาราง คำนวณ PV Annuity Table หรือ ใช้ calculators ก็จะ ได้เงินงวด ปีละ 2 ล้าน เหลือเป็น PV = 15.89 ล้าน เท่านั้น หรือ ถ้า รับเงิน 20ล้าน วันนี้ นำไปลงทุนเอง ในอัตรา 7 % ในเวลา 12 ปี ก็จะได้ FV = 45.04 ล้าน !!! แปลว่า ? ( ลองไปแปลเอาเอง ! ) จากสูตร นี้ ก็นำๆไปใช้คำนวณ ...

3.5 Future Value - Annuity

Image
คุณอายุ 30 ปี ไปอ่านเจอ คำแนะนำ ออมเพื่อ ชีวิตหลังเกษียณ แต่เนิ่นๆ ของธนาคารแห่งหนึ่ง เกิดความเลื่อมใส เลย ส่ง เงินงวด ( annuity ) รายเดือนทุกเดือน เป็นเวลา 30 ปี เดือนละ 10000 บาท ธนาคารคิดดอกเบี้ย ทบต้นให้ ทุกเดือน อัตราดอกเบี้ยปีละ 6 % วันที่คุณเกษียณ คุณ จะมีเงิน เท่าไร ? ( ลองคำนวณ หรือ ลองเดาว่า จะเป็นเท่าไร ? )   ใช้วิธี คณิตศาสตร์ คำนวณ สูตรก็จะเป็น ถ้าคุณคำนวณโดยใช้ Future Value Calculator คุณจะมีเงินออมทั้งสิ้น 10,045,150.42 บาท ถ้าคุณ คำนวณโดยใช้สูตร คุณก็จะได้เงินออม 10,045,150.42 บาท ถ้าคุณคำนวณโดยใช้ ตาราง Future Value of an Annuity Table คุณก็จะได้เงินออม 10,045,150.42 บาท คุณอาจจะถามว่า ทำไมออกมาได้เท่ากัน คำตอบคือ มันต้องเท่ากัน เพราะ สิ่งเดียวกัน ใช้เครื่องมือ คำนวณต่างกันเท่านั้นเอง ถ้าคุณ ต้องการมี เงินออม หลังเกษียณ สัก 20 ล้านบาท คุณก็ใช้ วิธีใดๆ คำนวณ ได้ ( แต่ใช้ เครื่องมือคำนวณ software เช่น Future Value Calculator ก็จะง่ายและเร...