Why Corporation Format So Succesful ?
<iframe width="560" height="315" src="http://www.youtube.com/embed/BHZ_IyRs3XI?rel=0" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
รูปแบบธุรกิจ Corporation บริษัท ( จำกัด )
ได้ก่อให้เกิด การทำธุรกิจ ที่ สามารถ
1.แยกความเป็นเจ้าของ ออกจาก การเป็นผู้บริหาร จัดการ Separation of Owners and Management
ในวันนี้ เรื่อง การแยกความเป็นเจ้าของ ออกจาก การเป็นผู้บริหาร จัดการ เป็นเรื่องที่ปรากฎมากมายและเป็นปรกติ ของการทำธุรกิจ ขนาดใหญ่ แต่ในยุคเริ่มต้นของ แนวความคิด Corporation ที่การแยก ความเป็นเจ้าของ ออกจาก การเป็นผู้บริหาร จัดการ สำหรับ การทำธุรกิจที่เริ่มต้นมาจาก เจ้าของ ผู้ลงทุน ผู้ดูแลบริหารจัดการ ผู้มีความรู้ ความชำนาญ และ ต่อมา ถ่ายทอด ความรู้ วิธีการค้า และ ความเป็นเจ้าของ ต่อๆกันมา ให้กับลูกหลานเหลน รับช่วงกัน ต่อๆมา เป็นเวลาหลายร้อย หลายๆพันปี นับเป็นสิ่งที่เข้าใจยาก และรับยาก ปฎิบัติยาก ( แม้แต่ในปัจจุบัน บริษัท ครอบครัว ที่ใหญ่โต มากมาย ก็ยัง ไม่ยอมให้ บุคคลภายนอกเข้ามา ยุ่งเกี่ยวกับการบริหารจัดการบริษัท ที่หมายถึงเงินๆทองๆ ของครอบครัว และ หมายถึงความรู้ความเชี่ยวชาญของครอบครัว ที่ต้องปกปิดหวงแหนดูแล )
2.Corporation ทำให้ ธุรกิจนั้น มีตัวตน ที่ชัดเจน Distinct Legal Entity และ มีอายุดำเนินงานได้ อย่างถาวร ไม่มีเวลาจำกัด Perpetual Life เช่นในกรณี กิจการเจ้าของประกอบธุรกิจเอง เมื่อเสียชีวิต หรือไม่กี่ชั่วอายุคน ธุรกิจนั้นก็จะเสื่อมสลายหายไปได้
ความสำเร็จในยุโรปยุคกลาง ของ บริษัทของ ดัชท์และ ต่อมา บริษัทของ อังกฤษ เกิดขึ้นได้ ( และต่อมาวิวัฒนาการ ทำให้เกิด ตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์ ) เพราะหลักการ การแยก ความเป็นเจ้าของ ออกจาก การเป็นผู้บริหารเป็นสาระสำคัญ ทำให้
- ธุรกิจสามารถหาผู้บริหาร อาชีพ ได้ทุกแขนง( ที่เก่งๆ) มาทำธุรกิจแทนเจ้าของ ที่อาจไม่มี ความรู้ประสบการ์ณ หรือ เวลา
-เจ้าของธุรกิจ หรือ บริษัท ไม่ต้องรับผิด ใน หนี้สินของบริษัท ( Limited Liabilities of Owners ) คือ รับผิดชอบเท่าที่ซื้อหุ้น ถือหุ้น ราคาค่าหุ้น เท่านั้น ซึ่งเป็นหลักพื้นฐานของ Corporation ( เว้นแต่ ไปเซนต์ สัญญา ค้ำประกัน ภาระหนี้สิน บริษัท เพราะเหตุใดๆ ก็ตาม ก็ต้องว่ากันไปอีกเรื่อง) ต่างกับ ทำธุรกิจในนาม ตนเอง มีหนี้สินเท่าใดของธุรกิจก็ยัง ต้องมารับผิดชอบอีก ( Unlimited Liabilities ) ทำให่เศรษฐีมากมาย ล้มละลายกลายเป็นเถ้าถ่านมาก็มาก
-ผู้บริหารเอง ก็มีหน้าที่ในการบริหารจัดการ บริษัท ไม่ต้องมามีภาระ รับผิดชอบในหนี้สินของบริษัท เพราะไม่ใช่เจ้าของ ( แต่เช่นกัน ยกเว้น ไปเซนต์ สัญญา ค้ำประกันหนี้สินบริษัท เพราะอยากให้บริษัทได้เงินกู้ รวดเร็วขึ้น หรือ ไปหลงคารมเจ้าหนี้ ก็ต้องว่ากันไปอีกเรื่อง เช่นกัน ) ทำให้มีผู้ชำนาญการมาทำหน้าที่ บริหารจัดการเป็นอาชีพมากขึ้นๆ
-ความเป็นเจ้าของธุรกิจ สามารถ โอน ( ขาย ) ต่อๆ ไปได้ Transferable of Ownership เพราะใครๆก็เป็นเจ้าของธุรกิจ เป็น ผู้ถือหุ้นได้ เพียงจ่ายค่าหุ้นให้ครบถ้วน
-ทำให้สามารถ ระดมทุนได้ง่ายและ หลากหลาย ( เกิด ตลาดทุนตลาดหลักทรัพย์ขึ้น ต่อๆมา
-การระดมเงินกู้ ก็ทำได้ง่ายขึ้น เพราะ บริษัทใหญ่ขึ้น มั่นคงขึ้น ถาวร ขึ้น บริหารจัดการได้ดีขึ้น มืออาชีพขึ้น เจ้าหนี้ ธนาคาร ผู้ให้กู้ มีความเชื่อมั่นมากขึ้น
แต่อย่างไรก็ตาม ในแง่ ภาษีรายได้ ( ส่วนแบ่งให้รัฐ ) เนื่องจาก องค์กรธุรกิจ Corporation และ เจ้าของ Owners แยกจากกัน รัฐ เจ้าหน้าที่รัฐ สรรพากร ก็จะตีขลุมว่า ภาษีเงินได้ บริษัท Corporate Taxes ต้องเสียปรกติ และ ถ้าจ่าย ( เงินปันผล )ให้ เจ้าของ ( ผู้ถือหุ้น ) ซึ่งเป็นคนละกระเป๋า ผู้ถือหุ้นก็ต้อง จ่าย ภาษีเงินได้ ( อีกครั้ง) เท่ากับเป็นการเก็บ ภาษี สองครั้ง ( Double Taxation ) จากเงินได้เดียวกัน
ซึ่งเทียบกับ กรณี การประกอบธุรกิจ เป็นบุคคลธรรมดา Sole Proprietor หรือ หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด Unlimited Partnership ธุรกิจและเจ้าของเป็น กระเป๋าเดียวกัน จึงเสีย ภาษีเงินได้เพียงครั้งเดียว
ในปัจจุบัน เนื่องจาก Corporation ทางธุรกิจ ใหญ่โต ( เหลือจะบรรยาย) และ มักมีผู้ถือหุ้นมากมาย ( จนกล่าวได้ว่าไม่มีใครเป็นเจ้าของแท้จริง) กรณี เช่นเดียวกับ ประเทศที่ประชาชนเป็นเจ้าของประเทศ แต่มีมากมายจนเหมือนไม่มีตัวตน
ผู้บริหาร ( ประเทศ หรือ บริษัท ) กลายมาเป็น เสมือน เจ้าของเสียอีก ( และ ผู้บริหารจัดการ ) ทำให้เกิดปัญหา การคอร์รัปชั่น การมุ่งประโยชน์ตนเองมากกว่า ของผู้ถือหุ้น ประชาชน ( Conflicts of Interests )
การใช้อำนาจโดยไม่ชอบ ( เอาประโยชน์ ส่วนตน มาก่อน ) การล่มสลายของ Corporation เช่น Enron, Worldcom , Lehman Brothers, AIG etc. และอีกมากมาย ( และ การล่มสลายของรัฐบาล หลายๆประเทศ ซึ่งคงรวมทั้ง ประเทศไทย ) ทำให้มีการวิตกกังวลต่อ วิธีการ โครงสร้าง Corporation ว่ายังทำหน้าที่ ทางธุรกิจ เศรษฐกิจ ได้ดีเพียงใด และจะต้องปรับปรุงเปลี่ยนกันอย่างไร
Corporate Governance , Good Governance ธรรมาภิบาล แนวความคิด และวิธีการที่ พยายามออกมา ร้องตระโกน ให้ ผู้บริหารบริษัท หรือ รัฐบาล( ผู้บริหารประเทศ) แทนเจ้าของแท้จริง ทราบและตระหนักว่า บริษัท ( ประเทศ ) ไม่ใช่ของ คุณ น่ะครับ อย่าก้าวล่วง หรือหาประโยชน์ จาก บริษัท Corporation หรือ ประเทศชาติ ราวกับว่าเป็นของคุณ ( เอง) จึงได้กำลังเป็นสิ่งที่ ผู้ถือหุ้น เจ้าของ ( บริษัท หรือ ประชาชน เจ้าของ ประเทศ ) กำลังทำเท่าที่จะพอกระทำได้ อยู่ขณะนี้ ( แต่โปรดสังเกตุ ว่า มีผู้ไม่ค่อยรู้ไม่ค่อยเข้าใจ เอาไปปะปน กับเรื่องอืนๆ มากมาย เช่น เรื่อง ความรับผิดชอบต่อสังคม CSR เรื่อง ผลงานที่ดีเลิศ Good Performance, Good Government หรืออะไรต่อมิอะไร ทำให้ เนื่อหาสาระ ความมุ่งหมายแท้จริง จางและจืดไปหมด
Comments
Post a Comment