Corporate Finance ?
ขอแนะนำ Chief คนใหม่
1. What ?
Corporate Finance , Financial Management ในทางวิชาการบริหารการเงิน มักจะจัดประเภท งาน การบริหาร ขบวนการ และ การตัดสินใจ ด้านการเงินธุรกิจ ออกเป็น 3 กลุ่มงานใหญ่ๆ
1) การตัดสินใจเรื่อง การลงทุน The Investment Decision
ธุรกิจอะไร โครงการลงทุนอะไร ที่ธุรกิจ หรือ บริษัท ควร ลงทุน ( ลงแรง ) ในขอบข่ายเรื่องนี้ ก็จะมี ทฤษฎี วิธีการ ต่างๆ ในการ
คิด ในการคำนวน เพื่อการตัดสินใจ หรือมักเรียกกัน ว่า Capital Budgeting ซึ่งเป็น ขบวนการ วิธีการ วางแผน วิเคราะห์การลงทุน
2)การตัดสินใจในเรื่อง การหาเงินทุน The Financing Decision มี ทฤษฎ๊ วิธีการ ตั้งแต่ ควรไปหาแหล่งที่ไหน รูปแบบไหน จะ ออกหุ้นทุน หุ้นกู้ กู้ยืม ระยะสั้น ระยะยาว ต้นทุนประเภทไหน ถูกกว่า ดีกว่า เหมาะสมกว่า
3) การตัดสินใจในเรื่อง เงินปันผล ( กำไร )The Dividend Decision เมื่อทำมาค้าขายลงทุน ได้กำไร ตามที่ตั้งใจ คาดหวังแล้ว ผู้บริหารการเงิน บริษัท ก็มีภาระ สำคัญอีกประการในการตัดสินใจ เรื่องการจัดการกับ กำไรที่ได้มา มี ทฤษฎี วิธีคิด ข้อดีเสีย ข้อเกี่ยวข้องมากมาย
ตั้งแต่ เรื่อง ภาษีเงินได่ ผลต่อราคาหุ้น ความพึงพอใจของผู้ถือหุ้น แผนงาน บริษัท ฯลฯ มากมายหลายประการ
2. Who ?
โครงสร้างปัจจุบัน หัวหน้า ที่ดูแล งาน บริหารการเงิน เรียกกันว่า CFO Chief Financial Officer ( ในสหรัฐอเมริกา หน้วยงานภาครัฐ กฎหมายบังคับให้ต้องมี CFO และต้องเรียกว่า CFO เช่นกัน- ที่อดีตนายกทักษิณ พยายามนำมาใช้กับ ราชการไทย ) CFO มักอยู่ในระดับ รอง( จาก )กรรมการผู้จัดการใหญ่ บางแห่งเรียกกันหรูหราว่า ประธานเจ้าหน้าที่ การเงิน หรือ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการเงิน ( บัญชี ) ก็เรียกกัน
รายงานตรงต่อ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ที่มักเรียกกันว่า CEO
Chief Executive Officer ( หรือ เรียกกันว่า President ก็มี ที่เรียกว่า MD Managing Director ตรงตัว ก็ยังพอมีอยู่ แต่ จะทำให้รู้สึกว่า ตำแหน่งเล็กลงได้ ! )
ดูแล ด้านนโยบายการเงิน และการวางแผนทางการเงิน เป็นหลัก และแน่นอน ควบคุมดูแล รับผิดชอบ งาน ด้านการเงิน การบัญชี ( เน้น ไป ทาง รายงาน ฐานะการเงิน ผลประกอบการ เป็นหลัก ) ผู้ช่วยเหลือ โดยทั่วไป ก็จะมี Treasurer เรียก ผู้จัดการฝ่ายการเงิน ผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน ก็ได้ ดูแล เรื่องเงินๆ ทั้งหมด การลงทุน การกู้ยืม การจัดการเงินสด การเรียกเก็บ สินเขื่อ ( ให้เครดิต การค้า )...และอีกด้าน ด้านข้อมูลการเงิน ก็คือ บัญชี การจัดเตรียม จัดทำ การรายงาน มีผู้ดูแล เรียกว่า Controller บ้าง Accounting Manager บ้าง ก็มี ซึ่งมักจะรวมไปถึงงานด้าน ภาษีอากร
3. Why ? ( Goals of Corporation? )
เมื่อเริ่มจัดตั้ง บริษัท Corporation วัตถุประสงค์บริษัท ก็มี ง่ายๆ ลงทุน ค้าขายให้ได้กำไร
มากๆ กำไรสูงสุด แล้วก็เอา กำไร มาแบ่งให้ ผู้ถือหุ้น มากๆ แต่ต่อๆมา เกิดมีตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์ ผู้ถือหุ้น ไม่ต้องรอ เงินกำไร เงินปันผล จากบริษัท สามารถทำกำไรได้ทันที เมื่อราคาหุ้นสูงขึ้น
ขณะเดียวกัน ขนาดของบริษัท ใหญ่โตมากขึ้นๆ จนปัจจุบัน หลายๆบริษัท มีผู้ถือหุ้น หลายๆล้านคน
ในหลายๆ วิธี หลายๆ วัตถประสงค์ในการลงทุน มี ภาระถาษีเงินได้แตกต่างกัน อย่างมาก จึงมี ความต้องการ ผลกำไรจากการลงทุนในบริษัทแตกต่างกันมากมาย ความใหญ่โตของบริษัทเองก็ ทำให้การควบคุมดูแล การบริหารจัดการ กระทำได้ยากลำบากขึ้น ฝ่ายบริหารจัดการเอง ซึ่งมีอำนาจจัดการธุรกิจ การเงิน บริษัท ก็มีผลประโยชน์ตนเอง วัตถุประสงค์ของตนเอง เช่น อาจไม่อยากเสี่ยงในการทำธุรกิจมากนัก เพราะ เสี่ยงต่อ งานอาชึพของตนเอง หรือ ต้องการเห็นผลกำไรเร็วๆ ในช่วงระยะเวลาสั้นๆที่ตนเอง บริหาร รับผิดชอบ ( เข่น CEO ,CFO ที่มีสัญญาว่าจ้าง ก็จะมุ่งผลกำไร มากๆเฉพาะช่วงเวลาตามสัญญา )
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน ในทางวิชาการ และ แนวทางปฎิบัติ เป็นที่ยอมรับกันเป็นหลักการทั่วไปว่า
หน้าที่ ฝ่ายบริหาร คือ การสร้างคุณค่าสูงสุดของบริษัทให้กับผู้ถือหุ้น ( สำหรับ บริษัทที่หุ้นมีราคาตลาด - บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ -มูลค่าบริษัท วัดได้จาก ราคาหุ้น นั่นเอง )
ผู้บริหารจัดการ ที่ ปฎิบัติเฉไฉไปจากหลักการนี้มาก มักจะต้อง ถูกเปลี่ยนหรือให้ออกไป
( เช้น ราคาหุ้น ตกเอาๆ )
จะขึ้นมาไหวไหมนี่ ?
Comments
Post a Comment