Corporation -Principal Agent Problem
Separation of Ownership and
Management
หลักการการแบ่งแยก ความเป็นเจ้าของออกจาก ฝ่ายบริหารจัดการ บริษัท ที่มีผลให้ ธุรกิจ ในรูปแบบ บริษัท เติบโต จนใหญ่โต มีกำลังทรัพย์ กำลังคน ( และ บางครั้ง กำลังอาวุธ ) มี อิทธิพล อำนาจ ครอบงำ ได้ทุกๆวงการ ตามที่เห็นๆอยู่ มากมายหลายๆประเทศ
การเติบใหญ่ของบริษัท ที่ใหญ่โต จน หลายๆบริษัท มีเจ้าของ ถือหุ้น
หลายๆล้านหุ้น ( จนกล่าวไม่ได้เจาะจงว่า ใครเป็นเจ้าของ เหมือนๆกับประเทศ ที่ ประชาชน - โดยรวม 60 ล้านคน เป็นเจ้าของ แต่ ประชาชน แต่ละคน กล่าวและกระทำอะไรไม่ได้เลยในความเป็นเจ้าของประเทศ-ยกเว้น 4 ปี ไปเลือกผู้แทนตนเอง 1 ครั้ง )และ การแยกอำนาจบริหารจัดการ ดังกล่าว ทำให้ ผู้บริหาร กลายเป็นเจ้าของไปเอง หรือ ทำตัวเป็นเจ้าของ และมักลุแก่ อำนาจ วัตถุประสงค์ บริษัท
ทำให้ บริษัท มากมายหลายแห่ง ล้มละลาย หรือ ล่มสลายไป เช่น Enron , Worldcom
นักวิขาการด้านต่างๆ รวมถึงนักกฎหมาย รัฐบาล ได้พยายามที่จะหาวิธี ควบคุม ดูแล การทำหน้าที่ ของ
ตัวแทน Agent (ผู้บริหาร บริษัท ) ให้ อยู่ใน ระเบียบระบบ วิธีการ ที่ จะไม่ให้เกิดความเสียหายได้กับ
เจ้าของบริษัท ตัวการ -Principal
มีกฎหมายว่าด้วย ตัวแทน ตัวการ ใน ปพพ ว่าด้วย การบริหารจัดการ บริษัท ใน ปพพ ( ที่ยังคง วนเวียนอยู่กับ กรรมการเป็นผู้บริหาร ( ที่ไม่ถูกต้องสอดคล้องกับ ความเป็นจริง การปฎิบัติ ของธุรกิจ )
มาตรา ๑๑๔๔ บรรดาบริษัทจำกัด ให้มี กรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนด้วยกันจัดการตามข้อบังคับของบริษัท และ มาตรา ๑๑๖๔ กรรมการจะมอบอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใดของตนให้แก่ผู้จัดการ ... )
พรบ บริษัท มหาชน ที่เริ่ม พูดถึง คณะกรรมการ - มาตรา ๖๗ บริษัทต้องมีกรรมการคณะหนึ่งเพื่อดำเนินกิจการของบริษัท และ ในการตั้ง ( ตัวแทน ) ผู้บริหาร .... คณะกรรมการอาจมอบหมายให้กรรมการคนหนึ่ง หรือหลายคนหรือบุคคลอื่นใดปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง แทน
เริ่มมีความชัดเจนขึ้น ใน พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551
ที่มีการกล่าวถึง ผู้บริหาร ( ตัวแทนบริษัท ) ชัดๆ เป็นครั้งแรก
ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการหรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการบริหารงานของบริษัท ไม่ว่าโดยพฤติการณ์หรือโดยได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ..."
คือ ผู้จัดการ หรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับบริหาร 4 รายแรกนับต่อจากผู้จัดการลงมา ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดำรงตำแหน่งระดับบริหารรายที่ 4 ทุกราย และให้หมายความรวมถึงผู้ดำรงตำแหน่งระดับบริหารในสายงานบัญชีหรือการเงินที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่า
เป็นการชัดเจนไป
ในกฎหมาย บริษัท( จำกัด ) สหรัฐอเมริกา จะระบุชัดเจนไปเลย ระหว่าง กรรมการ ( Directors ) และ
ผู้บริหาร ( Officers ) - ผู้บริหารสูงสุด ผู้จัดการใหญ่ จึงนิยมเรียกว่า Chief Executive Officer
ตัวอย่าง
(
Model Business Corporation Act :
Officers.
A corporation shall have such officers .. elected by the board of directors .... Officers and assistant officers and agents as may be deemed necessary may be elected or appointed by the board of directors .....
)ซึ่งสอดคล้องกับข้อเท็จจริงในการ ทำธุรกิจปัจจุบัน ที่
1.ผู้ถือหุ้น ทำหน้าที่ควบคุม กำกับดูแล เฉพาะเรื่องสำคัญมากๆ ( นานๆครั้ง เช่นปีละครั้ง ) เช่น แต่งตั้ง
กรรมการ การจ่ายเงินปันผล การเพิ่มทุน ฯลฯ ทางทฤษฎี เป็นผู้มีอำนาจ สูงสุด ทางปฎิบัติ เป็นผู้มีอำนาจ น้อยที่สุด ในบริษัท
2.คณะกรรมการ บริษัท ทำหน้าที่ กำกับ ดูแล ควบคุม และบริหารจัดการ เฉพาะเรื่องสำคัญ (โดยการประชุม เป็นระยะๆ 1-3 เดือน ครั้ง )
เช่นการอนุมัติ เรื่องใหญ่ๆ ใช้เงินมากๆ การตัดสินใจเรื่องแต่งตั้ง ผู้บริหารระดับสูง -ตัวแทน สิ่งที่มักจะไม่ เข้าใจกัน คือ มักจะคิดว่า ประธาน คณะกรรมการ หรือ กรรมการเอง ซึ่งไม่ได้มีตำแหน่งหน้าที่เป็นผู้บริหาร
( Officer ) มีอำนาจบริหารจัดการ สั่งการในกิจการ ธุรกิจ บริษัท เกิดเป็นปัญหา มากมาย ก.ล.ต เองเคยมีประกาศคำแนะนำออกมาว่า กรรมการ ประธานกรรมการ มีอำนาจ ในเรื่องที่มีการประชุม ในฐานะ คณะกรรมการ เท่านั้น แต่ไม่มีอำนาจใดๆเลย นอกห้องประชุม หรือ โต้ะประชุม ! ....ในทางปฎิบัติ เป็นเพียง ตัวแทนเจ้าของที่ให้มากำกับดูแล ( อย่างมากก็ประชุม 1 เดือนครั้ง )
3.ผู้บริหาร Officers เป็นตัวแทน ที่รับมอบอำนาจจากคณะกรรมการ จากบริษัท ให้บริหารธุรกิจ ของบริษัท
ทุกๆวัน ( day To day )ตามที่ตกลงและมอบหมาย ... ในทางปฎิบัติ คือ ผู้มีอำนาจสูงสุด ในกิจการบริษัท
การประชุมผู้ถือหุ้น
Comments
Post a Comment