3.9 การคุ้มครองผู้บริโภคทางการเงิน Consumer Credit Protection





ปัจจุบัน ไทยมี กฎหมายในแนวทาง คุ้มครองผู้บริโภค(ทั่วไป มากมาย  

 และ ให้ความสำคัญ  ขนาด   กำหนดสิทธิผู้บริโภคไว้ใน กฎหมายรัฐธรรมนูญ   !!!    (  ดูเหมือนเอาจริงเอาจัง )

 มาตรา 57      "สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครองทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ"

มี บทบัญัติ ใน รัฐธรรมนูญ 2540 ประกาศใช้และบัญญัติให้มีองค์กรอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค (ตามมาตรา 57 )

บัดนี้ กี่ปีต่อมาแล้ว  องค์กรนี้ ก็ยังไม่มีใครเห็น ? ขนาดเขียนแล้วเขียนอีก ในรัฐธรรมนูญน่ะนี่  ( เข้าใจว่า ถ้าไม่เขียนไว้แต่ทำจริง เหมือน อารยะประเทศ ก็คงจะดีกว่านี้มากมายไปแล้ว )

 และมี  พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522  และ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค  ซึ่งมีภาระหน้าที่ ใหญ่โตมากมายมหาศาล  ทุกเรื่ออองทุกอย่าง  แต่โครงสร้าง และอำนาจ ไม่ใหญ่โตอะไร 

  และมี กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค มากมาย หลายฉบับ  

เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 ที่ ว่า

 ข้อตกลงในสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจการค้า หรือวิชาชีพ หรือในสัญญาสำเร็จรูป หรือในสัญญาขายฝากที่ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจการค้า หรือวิชาชีพ หรือผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูป หรือผู้ซื้อฝากได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควร เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม และให้มีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีเท่านั้น

        ( 9 ) ข้อตกลงที่กำหนดวิธีคิดดอกเบี้ยทบต้นที่ทำให้ผู้บริโภคต้องรับภาระสูงเกินกว่าที่ควร

เช่น ซื้อ ทีวีเงินผ่อน คิดดอกเบี้ย 12% ต่อปี ผืดนัดชำระ ก็จะคิดดอกเบี้ย ทบต้น ( ส่วนเงินต้นและดอกเบี้ยที่ไม่ชำระได้)  ก็เดาไม่ได้ ว่า ทำให้ผู้บริโภคต้องรับภาระสูงเกินกว่าที่ควร หรือไม่ ?

        ซึ่งว่าไปแล้ว เริ่มไปในแนวอนุญาติ ให้คิด ดอกเบี้ยทบต้นได้ ของต่างประเทศ เพียงแต่ ต้องไม่ทำให้ ผู้กู้ ผู้บริโภค รับภาระสูงเกินควร และให้เป็นดุลพินิจศาลทั้งหมด ซึ่งอาจทำให้ กฎหมายนี้ไม่เป็นประโยชน์ เท่าที่ควร ( หรือ ไม่เป็นประโยชน์ใดๆ )

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522

        มีหลักกว้างๆ ตามแนว สากล  เรื่อง    Full Disclosure Principle

 

        - สิทธิ ที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับ สินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่ จะได้รับการโฆษณาหรือการ แสดง ฉลากตามความเป็นจริงและปราศจากพิษภัยแก่ผู้บริโภค รวมตลอดถึงสิทธิที่จะได้รับทราบ ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการอย่างถูกต้องและเพียงพอที่จะ ไม่หลงผิด ในการซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยไม่เป็นธรรม   

        -สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับข้อสัญญาโดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ

พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.. ๒๕๕๑

วัตถุประสงค์   "สมควรให้มีระบบวิธีพิจารณาคดีที่เอื้อต่อการใช้สิทธิ เรียกร้องของผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายได้รับการแก้ไขเยียวยา  ด้วยความรวดเร็ว   ประหยัด และมีประสิทธิภาพ อันเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค"

ผลที่ปรากฎ มีรายงานว่า      " พบว่า กว่า 2 ปีแล้วที่กฎหมายได้มีผลบังคับใช้ ปรากฏว่า ผู้ใช้สิทธิตามกฎหมายฉบับนี้ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 คือผู้ประกอบการ ห้างร้าน บริษัท ฯลฯ ที่ใช้สิทธิไล่เบี้ยประชาชนผู้บริโภค และมีผู้บริโภคจำนวนไม่มากนักที่ใช้สิทธิปกป้องตนเองตามพระราชบัญญัติฉบับ นี้"
 

เรื่อง การ คุ้มครองผู้บริโภคทางการเงิน  Consumer Credit Protection ในต่างประเทศ ไปไกลกว่า ของไทยมากมาย ทั้ง กฎหมาย  วิธีการ  เนื้อหา

1.Concept  แนว ทาง  Full Disclosure Principles  การที่ต้องเปิดเผยสาระสำคัญให้ชัดเจน และ ถูกต้องเป็นขั้นตอน ของ ผู้ขาย ผู้ให้บริการ

-ตั้งแต่การโฆษณา

-ก่อนการตกลงทำสัญญษ

-ในข้อตกลงสัญญา ฯลฯ

  หลักการ Annual percentage rate (APR)
ในเรื่อง อัตราดอกเบี้ย การคำนวนคิดดอกเบี้ย มีหลักการ สำคัญที่เรียกว่า  annual percentage rate (APR) หรือ  nominal APR, และ   Effective APR, หรือ  EAR,  กำหนดดอกเบี้ย ให้ระบุชัดเจนเป็น  ต่อปี  ( annualized  ไม่ว่าจะระบุ เป็นต่อเดือน  วิธีคำนวนอย่างไร   เรียกว่า ค่า fees ค่าใช้จ่าย อะไร   ในธุรกรรมทางการเงินทั้งหมด เช่น  loan, mortgage loan, credit card, etc.  
APR ,  EAR  เป็น คำจำกัดความตามกฎหมาย มีนัยตามกฎหมาย  และต้องแจ้งระบุ disclose ให้ชัดเจนแต่ต้น เพื่อผู้บริโภคทางการเงินจะได้ทราบ ได้เปรียบเทียบได้โดยง่าย                  
     -APR  ที่คำนวนออกมาได้   ไม่ว่าจะเรียกอะไร คำนวนอย่างไร  ให้เท่ากับ อัตราต่อ  ปี ธรรมดา simple interest                    
  - EAR  ที่คำนวนได้ต่อปี ไม่ว่าจะเป็น ค่า ใช้จ่าย ค่าบริการเรียกว่าอะไรก็ตาม ให้เท่ากับ อัตราต่อปีธรรมดา simple interest


เรื่อง การ คุ้มครองผู้บริโภคทางการเงิน  Consumer Credit Protection  

ในต่างประเทศ

ไปไกลกว่า ของไทยมากมาย ทั้ง กฎหมาย  วิธีการ   องค์กร  เนื้อหา  แนวทาง ทิศทาง

1.มีกฎหมายเฉพาะเจาะจงเรื่อง การคุ้มครองผู้บริโภคทางการเงินConsumer Credit Protection Act ของ สหรัฐ       และ  Consumer Credit Act (CCA) ของ อังกฤษ 

2.มีการจัดตั้ง องค์กร เดียว  และ มีอำนาจมากมาย   ดูแล ปกป้อง  คุ้มครองผู้บริภคทางการเงิน  เป็นกิจลักษณะ  จริงจัง   สหรัฐ พึ่งจัดคั้ง Consumer Financial Protection Bureau  องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคทางการเงิน ตาม กฎหมาย Dodd-Frank Wall Street Reform and Consumer Protection Act of 2010   ซึ่ง ประธานาธิบดี โอบาม่า กล่าวว่า  เป็น  สาระสำคัญที่สุด ของ ประวัติศาสตร์ การปฎิรูป ทางการเงินของสหรัฐ    

ของอังกฤษ มีการจัดตั้ง The Financial Conduct Authority (FCA) เดิมเรียกว่า   the Consumer Protection and Markets Authority (CPMA) มาในแนวทาง ทิศทางเดียวกัน

 

ธปท  เมื่อต้นปี 2555  ได้ จัดตั้ง ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน

  Financial Consumer Protection Center

เป็นหน่วยงานหนึ่งใน ธปท   ตามแนวทางที่เกิดในต่างประเทศ ข้างต้น  ซึ่งน่าจะเป็น  การนำร่องที่ดี แต่คงทำหน้าที่ได้ ในขอบเขตจำกัดมาก  เนื่องจาก โครงสร้าง และ อำนาจ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง องค์กรที่เกี่ยวข้อง ของไทย ยังสับสนวุ่นวายมาก พอควร      ( เป็นไปตามที่ว่ากันว่า  ไทยมีรูปแบบดี ขึงขัง จริงจัง ขนาดกำหนด สิทธิ ใน รัฐธรรมนูญ  !!!  แต่ เนื้อหาแต่ละเรื่องที่สำคัญจำเป็น ออกมา กระท่อนกระแท่น  สับสน   ปะปน  )

Comments

Popular posts from this blog

Corporate, Corporation, Incorporated, Company ?

Principal -Agent Problem & Corporate Governance

The True Story of Enron 2